UFABETWIN
พฤศจิกายน 5, 2022

UFABETWIN “ปทิตตา มูลโพธิ์” : ว่าที่นักฟุตซอลทีมชาติที่เคยผกผันไปเป็นพนักงานแคชเชียร์

By admins

วงการฟุตซอลหญิงเมืองไทยถือว่าไม่ได้รับความนิยมเท่าไหร่นัก ยิ่งในช่วง 10 ปีก่อนหน้านี้ยิ่งแทบจะไม่มีโปรแกรมลีกให้ลงแข่งขัน นักกีฬาที่ยังสามารถโลดแล่นอยู่ได้ส่วนใหญ่จึงเป็นนักกีฬาที่ติดทีมชาติ มีเบี้ยเลี้ยงฝึกซ้อมและเงินรางวัลจากการแข่งขันคอยหล่อเลี้ยง

แล้วถ้าคุณไม่ได้ติดทีมชาติล่ะ จะทำอะไร?

ปทิตตา มูลโพธิ์ หรือ “แพรว” นักฟุตซอลหญิงวัย 27 ปี คือหนึ่งในตัวอย่างของนักกีฬาที่ต้องเผชิญกับปัญหาเหล่านั้น

ชีวิตของเธอต้องเผชิญจุดเปลี่ยนมาแล้วมากมายไม่เว้นแม้แต่การต้องสละชีวิตนักฟุตซอลที่ตัวเองรักไปเป็นพนักงานแคชเชียร์ในโรงแรมเพื่อหาเลี้ยงชีพในวันที่ไร้โปรแกรมแข่งขัน แต่เธอก็สามารถที่จะต่อสู้จนกลับมาอยู่ในเส้นทางได้อีกครั้ง พร้อมมีชื่อเข้าเก็บตัวกับทีมชาติไทยเป็นครั้งแรก เพื่อลุ้นลุยศึกซีเกมส์ 2021 ที่จะถึงนี้

เรื่องราวชีวิตที่สุดจะพลิกผันของเธอกับฟุตซอลอันเป็นที่รักเป็นอย่างไร?

เด็กสาวจากอำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี เติบโตขึ้นมาท่ามกลางลูกพี่ลูกน้องที่ส่วนใหญ่เป็นเด็กผู้ชาย ทำให้เธอได้คลุกคลีกับการเล่นกีฬาชนิดต่างๆ รวมถึงยังได้เห็นพวกเขาเตะฟุตบอลเล่นกันแถวบ้านตั้งแต่จำความได้

แพรวเล่าให้เราฟังว่า การได้ใช้ชีวิตส่วนใหญ่เล่นอยู่กับกลุ่มเด็กผู้ชายนั้น ทำให้เธอมีนิสัยห้าวๆติดตัวมาตั้งแต่เด็ก และไม่เคยหวั่นเกรงที่จะออกไปท้าแดดท้าฝนเล่นกับเพื่อนๆพี่ๆในกลุ่ม ติดแค่ตอนนั้นเธอยังเป็นเพียงเด็กน้อยอายุไม่ถึง 10 ขวบ จึงทำได้แค่เกาะขอบสนามเฝ้ามองดูอยู่ห่างๆเท่านั้น

กระทั่งได้ย้ายมาเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนลานสักวิทยา ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เธอได้เริ่มสัมผัสลูกฟุตบอลอย่างจริงจัง เพราะโรงเรียนประจำอำเภอแห่งนี้ได้ให้การสนับสนุนนักเรียนด้านการกีฬา โดยเฉพาะฟุตบอลและฟุตซอลอย่างเต็มที่

“แพรวชอบวิ่งมาตั้งแต่เด็ก เราคิดว่าเราวิ่งเร็วมาตั้งแต่ชั้นประถม ได้เหรียญทองแข่งกีฬาสีของโรงเรียนมาหลายครั้งมาก พอขึ้นมัธยม อาจารย์ อิทธิพล บางหลวง ซึ่งเป็นครูพละศึกษาของโรงเรียนลานสักวิทยา เห็นว่าเราน่าจะมีแววเล่นฟุตซอลได้เลยชวนมา เราก็ตอบตกลงทันที เพราะอยากเล่นอยู่แล้วตั้งแต่ได้เห็นพวกพี่ๆเขาเล่นกัน”

“ตอนแรกอาจารย์ก็ให้เราลองเล่นทั้งฟุตบอลและฟุตซอล แต่แพรวชอบฟุตซอลมากกว่า เพราะมันสนุก เกมมันเร็ว มันตื่นเต้นกว่า ต้องใช้สมาธิจดจ่ออยู่กับเกมตลอด หลุดไม่ได้เลย ตอนแรกก็ไม่ได้รู้ทักษะอะไรมากมายเลยนะ แต่พอเล่นไปเรื่อยๆ ฝึกเรื่อยๆ ได้ไปแข่งรายการต่างๆ ก็รู้สึกว่าตัวเองพัฒนาขึ้นและเริ่มรักมันมากขึ้น ทำให้เรามีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาตัวเองอย่างจริงจัง” แพรว ย้อนความถึงสมัยเด็ก

การได้มาเรียนที่นี่ ทำให้แพรวได้ฝึกฝนการเล่นฟุตซอลอย่างจริงจัง เพราะแม้โรงเรียนจะอยู่ไม่ห่างจากบ้านมากนัก แต่ในฐานะนักกีฬา ทำให้เธอต้องใช้ชีวิตอยู่ในหอพักนักกีฬาไม่ต่างจากการอยู่โรงเรียนประจำ ไม่สามารถกลับบ้านหลังเลิกเรียนได้เหมือนเพื่อนๆคนอื่น

นอกจากจะเรียนตามปกติแล้ว ช่วงเย็นหลังเลิกเรียนเธอต้องมาฝึกซ้อมฟุตซอลต่อตั้งแต่เวลา 16:30-18:30 น. เป็นประจำทุกวัน แถมบางวันที่ใกล้ถึงแมตช์แข่งขันยังต้องตื่นมาซ้อมช่วงเช้าก่อนเข้าเรียนอีกด้วย โดยซ้อมทั้งเบสิกขั้นพื้นฐาน การเลี้ยง ส่ง ยิง ตลอดจนเรียนรู้แทคติกของโค้ชและแบ่งทีมจำลองการแข่ง

แพรวตระเวนลงแข่งขันรายการต่างๆทั้งระดับภาคและระดับประเทศอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 6 ปีที่เรียนชั้นมัธยม ก่อนจะมีโอกาสได้ลงแข่งขันในรายการกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 29 ที่จังหวัดมหาสารคาม เมื่อปี 2556 ซึ่งเธอก็สามารถโชว์ฟอร์มได้โดดเด่นจนแมวมองจากมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีมาเห็น แล้วให้ทุนมาเรียนต่อระดับปริญญาตรี คณะการจัดการบริหารธุรกิจบัณฑิต ในโควตานักกีฬา

สภาพจิตใจของเด็กสาววัย 18 ปี สุขล้นเกินจะบรรยาย เธอได้ย้ายเข้ามากรุงเทพฯ ได้เรียนมหาวิทยาลัยที่สนับสนุนและปลุกปั้นนักกีฬาอย่างเต็มที่ ประตูโอกาสสู่การเล่นฟุตซอลที่เธอรักจึงเปิดกว้าง เธอเริ่มฝันไกลถึงการเป็นนักฟุตซอลอาชีพ หวังที่จะหาเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้ด้วยสิ่งที่เธอรัก เพียงแต่ความฝันกับความเป็นจริง บางทีมันก็เดินสวนทางกัน

หลังจากเก็บกระเป๋าย้ายมาอยู่เมืองกรุง แพรวยังคงมุ่งมั่นในการเล่นฟุตซอลที่ตัวเองรักอย่างเต็มที่ แม้จะอยู่ตัวคนเดียวโดยมีเพียงญาติที่คอยดูแลช่วยเหลืออยู่ห่างๆ แต่เธอก็ไม่เคยคิดหลงระเริงไปกับแสงสีอันสวยงามของเมืองหลวงที่เชื้อเชิญให้ไปร่วมดื่มด่ำ

เธอเริ่มฉายแววด้านฝีเท้ามากขึ้นในตำแหน่งกองหลัง ด้วยส่วนสูง 166 เซนติเมตร พร้อมจุดเด่นในการเล่นเกมรับอันดุดัน เข้าบอลหนัก รับแน่น ชนิดที่ดวลตัวต่อตัวไม่มีใครผ่านไปได้ง่ายๆ อีกทั้งยังมีความเร็ว ยิงบอลหนัก สามารถช่วยเติมเกมรุกได้ดีอีกด้วย

ความสามารถอันโดดเด่นทำให้เธอได้เป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยลงแข่งขันในกีฬามหาวิทยาลัย ก่อนจะถูกชักชวนมาร่วมทีมกรุงเทพมหานคร ลงแข่งขันในฟุตซอลลีกและกีฬาแห่งชาติ รวมถึงตระเวนเดินสายฟาดแข้งในรายการต่างๆ ซึ่งถือเป็นก้าวแรกของการเป็นนักฟุตซอลเต็มตัว

“ดีใจมากที่ได้มาอยู่ทีมกรุงเทพฯ มันเหมือนว่าเรามีชื่อจะได้เป็นนักฟุตซอลอาชีพตามที่ฝันไว้แล้วนะ หวังว่าจะได้เล่นได้แข่งในลีก ซึ่งตอนนั้นในทีมมีรุ่นพี่ที่เล่นเก่งอยู่แล้ว ก็แอบเกร็งๆอยู่บ้าง ไม่ค่อยกล้าเล่น เพราะเราไม่ได้เป็นเด็กกรุงเทพฯด้วย แต่พอได้ซ้อมไปเรื่อยๆ มีโอกาสได้ลงแข่ง มันก็ปรับตัวได้ดีขึ้น”

“แม้จะเล่นได้เพียงปีเดียว แต่ก็ถือว่าได้ประสบการณ์จากตรงนั้นเยอะมาก ตอนนั้นยังไม่คิดถึงการติดทีมชาติเลยนะ เราแค่อยากพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้น แต่พอได้เห็นพวกรุ่นพี่ในทีมชาติที่เป็นไอดอลอย่าง พี่ปู (ดาริกา เพียรภายลุน) หรือคนอื่นๆ ก็แอบมีฝันเล็กๆนะว่าเราอยากไปยืนอยู่ตรงนั้นบ้าง” แพรว เผย

การได้สัมผัสฟุตซอลในระดับที่สูงขึ้น ทำให้ความฝันของเธอยิ่งใหญ่มากขึ้น เธอเริ่มวาดภาพอนาคตอันสดใสของตัวเองบนเส้นทางนี้ ทว่า จู่ๆ เหตุการณ์ไม่คาดคิดก็ได้เกิดขึ้น เมื่อเธอได้รับบาดเจ็บหนักที่บริเวณแผ่นหลังจากจังหวะปะทะกับคู่แข่ง จนทำให้กระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท จนต้องรักษาด้วยการฉีดยาเข้าที่กระดูกสันหลังและต้องพักยาวร่วมปี

 

UFABETWIN

 

แม้เวลาจะช่วยบรรเทาอาการเจ็บของเธอให้ดีขึ้นจนพร้อมที่จะกลับคืนสู่สนามอีกครั้ง ทว่าในขณะนั้นฟุตซอลลีกหญิงเมืองไทยกำลังหยุดนิ่ง ไม่มีการจัดแข่งขัน ทำให้เธอเป็นผู้เล่นไร้สังกัดและต้องเคว้งอยู่นานหลายเดือน

นักกีฬาอาชีพอยู่ได้ด้วยเงินเดือนจากสโมสรและค่าจ้างจากการลงแข่งขัน เมื่อไม่มีทีมเล่น ไม่มีทัวร์นาเมนต์ให้แข่ง เท่ากับรายได้ทั้งหมดเป็นศูนย์ ซึ่งฟุตซอลลีกหญิงในเมืองไทยนั้นที่ผ่านมาแทบจะถูกมองข้าม การแข่งขันไม่ได้ถูกจัดอย่างต่อเนื่อง บางครั้งเว้นหายไปเป็นปีๆเลยก็มี

หรือถ้ามีจัดแข่งก็ใช้เวลาเตะกันเพียงแค่ 2-3 เดือน นั่นเท่ากับว่าช่วงเวลาที่เหลืออีก 8-9 เดือนของปีที่ไม่ได้รับเงินค่าจ้างจากต้นสังกัด พวกเธอต้องหางานอย่างอื่นรองรับเพื่อสร้างรายได้ควบคู่กันไปด้วย

นักกีฬาบางรายที่ติดทีมชาติก็อาจจะได้เข้าแคมป์เตรียมทีมลงแข่งขันต่อเนื่อง มีเบี้ยเลี้ยงฝึกซ้อมคอยหล่อเลี้ยง หรือตัวเก๋าบางคนที่หลุดจากทีมไป ส่วนใหญ่ก็จะมีงานจากสโมสรหรือสมาคมกีฬาฟุตบอลฯคอยรองรับไว้แล้ว ขณะที่นักกีฬาดาวรุ่งยังได้กลับไปเรียนต่อและพอจะมีรายการระดับมหาวิทยาลัยให้ได้ลงแข่งอยู่บ้าง ทั้งกีฬามหาวิทยาลัยหรือกีฬาเยาวชนแห่งชาติ

แล้วนักกีฬาในช่วงหัวเลี้ยงหัวต่อที่พ้นวัยเป็นนักศึกษามาแล้วแต่ยังไม่ได้ติดทีมชาติล่ะจะทำอย่างไร?

แพรวเป็นหนึ่งในจำนวนนั้น เธอเป็นเด็กต่างจังหวัดที่เพิ่งจะเข้ามากรุงเทพฯได้ไม่นาน เพิ่งลงเล่นฟุตซอลลีกไปแค่ปีเดียว แทบจะไม่รู้จักใครในวงการที่จะชักชวนมาทำงานด้วยเลย ทำให้เธอต้องเริ่มมองหาหนทางอื่นที่จะช่วยสร้างรายได้ให้กับตัวเองเพื่อความอยู่รอด

เด็กสาวจากอุทัยธานีต้องเผชิญทั้งความสับสนและความมืดมนในเมืองหลวง เม็ดเงินที่เก็บหอมรอมริบมาด้วยหยาดเหงื่อจากการเล่นกีฬาก็เริ่มร่อยหรอลงทุกที ทำให้เธอตัดสินใจที่จะเลือกเดินบนทางที่แยกออกมาจากสิ่งที่เธอรัก

“ถ้ารวมตอนบาดเจ็บและตอนไม่มีรายการแข่งด้วย ตอนนั้นว่างอยู่เกือบปี เราไม่ได้ทำอะไรเลย เงินก็เริ่มหมด เลยต้องลองหางานอย่างอื่นทำดู พอดีมีญาติที่รู้จักช่วยพาไปสมัครเป็นพนักงานแคชเชียร์ที่โรงแรมโฟร์ วิงส์ ในซอยสุขุมวิท 26 ก็เลยได้ลองไปทำดู”

“ตอนแรกก็ตัดสินใจยากนะ แต่ตอนนั้นเราไม่มีอะไรทำจริงๆ รายการก็ไม่มีแข่ง ก็เลยลองมาทำดู พอเริ่มทำงานจริง มันก็มีความยากนะ มันใหม่สำหรับเรามาก เราเป็นนักกีฬามาตลอด ไม่รู้เรื่องด้านนี้เลย แต่ก็พยายามทำให้ดีที่สุด”

การมาเป็นพนักงานแคชเชียร์ทำให้แพรวแทบจะบอกลาอาชีพนักฟุตซอลที่ตัวเองฝันไว้ไปเลย เพราะเธอต้องทำงานวันละ 9 ชั่วโมง ไม่เข้ากะเช้า 06:00-15:00 น. ก็กะเย็น 15:00-00:00 น. โดยมีวันหยุดเพียงสัปดาห์ละ 1 วัน

แพรวเล่าว่าเวลานั้นเธอแทบจะไม่ได้ดูแลร่างกายตัวเองเลย ไม่ได้มีเวลาออกกำลังกายเลย เพราะพอเลิกงานในแต่ละวันก็เหนื่อยจนหมดแรง จนทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น แต่ถึงอย่างนั้น ภายในใจของเธอก็ยังคงเฝ้ารอที่จะได้หวนกลับไปทำสิ่งที่รักอีกครั้ง

“แพรวไม่เคยเลิกหวังเรื่องฟุตซอลเลยนะ เหมือนว่าเรารักแล้วอ่ะ เราตัดไม่ขาด คิดถึงขั้นว่าถ้ามีแข่งก็จะหยุดงานตรงนั้นเพื่อมาเล่น มันเป็นสิ่งที่เรารัก ถ้าจะให้ตัดขาดเลยแพรวทำไม่ได้หรอก เรายังเล่นได้อยู่ เรายังสามารถพัฒนาได้ ยังมีใจรักที่จะเล่นอยู่” เธอพูดด้วยสีหน้าจริงจัง

หลังจากทำงานแคชเชียร์อยู่ราว 7-8 เดือน แพรวต้องเผชิญกับจุดเปลี่ยนของชีวิตอีกครั้ง เมื่อการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อคนทั้งโลก ไม่เว้นแม้แต่โรงแรมที่เธอทำงานอยู่

การแพร่ระบาดทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติและผู้เข้าพักโรงแรมลดน้อยลงชนิดดิ่งลงเหว แม้ทางโรงแรมจะพยายามยื้ออยู่นับเดือน แต่ก็ไม่สามารถที่จะแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่หนักอึ้งได้ จึงต้องค่อยๆเริ่มทยอยบอกเลิกจ้างพนักงานทีละส่วน จนมาถึงในส่วนของแคชเชียร์ที่แพรวทำอยู่

 

UFABETWIN

 

“ตอนนั้นช่วงโควิดรอบแรก เราก็พอรู้ล่วงหน้าอยู่บ้าง จนวันที่ทางโรงแรมมีหนังสือแจ้งขอเลิกจ้างเนื่องจากเป็นเหตุสุดวิสัยเข้ามา ตอนนั้นยอมรับว่าท้อมาก เราไม่ได้เตะบอลแล้ว เรามาหางานทำแล้ว งานยังดันหยุดชะงักอีก มันก็ท้อนะ แต่แพรวก็เข้าใจนะ มันเป็นช่วงจังหวะของชีวิตเราแหละ แต่ก็ยังคิดว่ากลับไปซ้อมกีฬาต่อก็ได้ เลยตัดสินใจกลับบ้าน” แพรว กล่าวด้วยสีหน้าหดหู่

เส้นทางที่เหมือนจะสดใส จากเด็กต่างจังหวัดที่เดินทางเข้ามาท้าทายชีวิตในเมืองหลวงด้วยความฝันเต็มกระเป๋า เธอพยายามต่อสู้อย่างเต็มที่จนโอกาสอยู่แค่เอื้อม แต่กลับต้องเผชิญเหตุไม่คาดฝันจนต้องกลับไปเริ่มต้นที่จุดเดิมอีกครั้ง แล้วเธอจะทำอย่างไรกับชีวิตของตัวเองหลังจากนี้? เป็นเรื่องที่น่าติดตาม

จนถึงตอนนี้ ชีวิตของแพรวถือว่าพลิกผันชนิดที่ตัวเธอเองก็ไม่เคยคาดคิด เธอเข้ามาไล่ล่าความฝันการเป็นนักฟุตซอลที่ตัวเองรัก แต่กลับต้องระหกระเหินไปเป็นพนักงานแคชเชียร์ที่โรงแรมเพราะไม่มีทัวร์นาเมนต์ให้ลงแข่ง ก่อนจะถูกบอกเลิกจ้างอย่างกะทันหันจนต้องกลับไปพักใจที่บ้านเกิดอุทัยธานี

เธอมีทางเลือก 2 ทาง คือมุ่งมั่นในเส้นทางการเป็นนักฟุตซอลต่อไปโดยที่ไม่รู้ว่าอนาคตจะลงเอยอย่างไร หรือบอกลาสิ่งที่เธอรักแล้วหางานอย่างอื่นทำเป็นหลักแหล่งเพื่อสร้างอนาคตเหมือนใครอีกหลายคน

“มีลังเลนะว่าถ้าทำงานกับเล่นฟุตซอลเราจะไปด้านไหนได้ไกลได้ดีกว่ากัน ทางบ้านพอเห็นสิ่งที่เราเจอมาก็เป็นห่วง รวมถึงอาการบาดเจ็บด้วยก็กลัวว่าถ้าเล่นต่อแล้วเราจะเจ็บมากขึ้นกว่าเดิม ก็มีถามให้คิดบ้างว่าไปทำงานอย่างอื่นดีกว่าไหม? แต่เราก็ยังเลือกฟุตซอลอยู่”

“แพรวบอกกับที่บ้านตลอดว่ายังอยากเล่นต่อ เพราะเรายังเล่นได้อยู่ อยากทำตรงนี้ก่อน ถ้าเรายังเล่นได้เราก็สามารถที่จะพัฒนาขึ้นไปอีกได้ แพรวคิดอยู่เสมอว่าคนเรามันสามารถพัฒนาตัวเองขึ้นได้อยู่แล้ว” หญิงสาวยืนยันในความตั้งใจ

การได้กลับมาอยู่ที่จังหวัดอุทัยธานีทำให้แพรวได้กลับมาเจอกับ อาจารย์ อิทธิพล บางหลวง ซึ่งเป็นผู้ปลุกปั้นเธออีกครั้ง อาจารย์ได้ให้โอกาสเธอมาร่วมฝึกซ้อมและฟิตร่างกายกับรุ่นน้องที่โรงเรียนลานสักวิทยา สถาบันเก่าที่บ่มเพาะเธอขึ้นมา

เมื่อได้เล่นฟุตซอลอีกครั้ง ทำให้หัวใจของแพรวกลับมาเบิกบาน เธอยังคงมุ่งมั่นเต็มที่เพื่อหวนกลับคืนสู่สนาม และโอกาสก็เริ่มเข้ามามากขึ้น ด้วยประสบการณ์ที่มีทำให้เธอได้เป็นกัปตันทีมของจังหวัดอุทัยธานี ลงแข่งขันในรายการกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 46 ที่จังหวัดเชียงราย เมื่อปี 2561 ก่อนที่ปีถัดมาโอกาสครั้งสำคัญจะเข้ามาในชีวิตและทำให้เธอได้กลับไปโลดแล่นบนเวทีฟุตซอลลีกอีกครั้ง

ในปี 2562 ฟุตซอลลีกหญิงได้กลับมาจัดแข่งขันกันอีกครั้ง และครั้งนี้ อาจารย์ อิทธิพล ได้ทำทีมส่งนักกีฬาเข้าแข่งขันเป็นครั้งแรกในนามทีมอุทัยธานี เคบีเค โดยเป็นการรวมนักกีฬาจากโรงเรียนลานสักวิทยา ผนึกกำลังร่วมกับ โรงเรียนสามชุกรัตนโภคาราม จังหวัดสุพรรณบุรี ผสมผสานด้วยรุ่นพี่ที่มีประสบการณ์อย่าง แพรว

การได้กลับมาแข่งขันในลีกอีกครั้งเหมือนเป็นการชุบความฝันของเธอให้ตื่นขึ้นมา..

“เรารักสิ่งนี้อยู่แล้ว เราไม่เคยสิ้นหวังเลยว่าเราจะไม่ได้เล่นอีกแล้ว พอเลิกจากงานโรงแรมก็กลับมาซ้อมเต็มที่ คอยพัฒนาตัวเองอยู่ตลอด ไม่ได้คิดว่าถึงไม่มีแข่งก็ใช้ชีวิตไปวันๆ แต่ซ้อมทุกวัน พอได้กลับมาแข่งในลีกอีกครั้งก็ดีใจมาก เหมือนเป็นจังหวะชีวิต และผลงานก็ถือว่าโอเค แม้ทีมเราจะเพิ่งส่งแข่งปีแรก แต่ก็จบที่อันดับ 4 ซึ่งถือว่าโอเคมากเลย” แพรว เปิดใจ

ผลงานของแพรวที่ช่วยให้ทีมคว้าอันดับ 4 ได้ไปเตะตาสตาฟฟ์โค้ชของสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย เรียกเข้ามาเก็บตัวคัดเลือกนักกีฬาทีมชาติไทย เพียงแต่เป็น “ทีมฟุตบอลชายหาด” ไม่ใช่ทีมฟุตซอลที่เธอเล่น

อาจจะเป็นเพราะทักษะฝีเท้า รูปร่าง หน่วยก้าน หรืออะไรบางอย่าง ที่ทำให้แพรวได้ไปร่วมคัดเลือกนักฟุตบอลชายหาดแทนที่จะเป็นฟุตซอล แต่เมื่อโอกาสเข้ามา เธอก็พร้อมที่จะยืนมือคว้า แม้จะงงๆอยู่บ้างก็ตาม

แพรวได้ไปคัดเลือกจนมีชื่อติด 20 คนสุดท้ายเข้าเก็บตัว แม้จะต้องเผชิญกับการเล่นที่ไม่คุ้นเคยและแตกต่างจากฟุตซอลที่ถนัดอยู่มาก แต่เธอก็พยายามเต็มที่ โดยฝึกซ้อมอยู่ราว 4-5 เดือน ก่อนที่โควิดระลอก 2 จะระบาดอีกครั้งและทำให้ไม่มีการจัดแข่งขันจนทีมต้องปล่อยตัวนักกีฬากลับ จนเธอกลับมาเคว้งอีกครั้ง

เพียงแต่ครั้งนี้เธอมีความมุ่งมั่นเต็มเปี่ยม ใช้เวลาว่างที่มีฝึกซ้อมและดูแลร่างกายอยู่ตลอด กระทั่งโอกาสที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตของเธอก็ได้เข้ามา นั่นคือการได้เข้าร่วมคัดเลือกเป็น “นักฟุตซอลหญิงทีมชาติไทย” ที่มีภารกิจเตรียมลงแข่งขันในศึกซีเกมส์ 2021 ที่ประเทศเวียดนาม ระหว่างวันที่ 12-23 พฤษภาคม 2565

“ทางสตาฟฟ์โค้ชแจ้งมาว่าเรามีรายชื่อติด 22 คน เข้ามาร่วมคัดเลือกทีมฟุตซอลหญิงทีมชาติไทย ชุดซีเกมส์ ตอนนั้นดีใจมาก แต่ก็คิดว่าเราจะสู้เขาได้ไหมนะ เราเป็นน้องใหม่ที่เพิ่งเข้ามาเก็บตัวครั้งแรก ในทีมก็มีพี่ๆตัวเก่าอยู่แล้วด้วย แต่เราก็คิดว่าถือว่าเป็นเรื่องดีสำหรับเรา ได้เข้ามาลอง เข้ามาเก็บประสบการณ์ ได้เล่นกับพี่ๆน้องๆ ดูทุกคนเป็นตัวอย่าง”

“จากนี้เราก็ต้องพยายามทำหน้าที่ของตัวเองให้เต็มที่ เชื่อฟังโค้ช พยายามคอยดูคอยศึกษารุ่นพี่ที่เขาเล่นดีและมีประสบการณ์มากกว่าเรา แล้วนำมาปรับมาฝึกกับตัวเอง ถ้าได้มีชื่อติดไปซีเกมส์ก็จะเป็นการได้เล่นทีมชาติครั้งแรก มันก็จะเป็นเกียรติประวัติของเราเลย เราคงดีใจมากๆเลย จะทำให้เต็มที่ที่สุด” แพรว กล่าวด้วยน้ำเสียงปลื้มใจ

ในวันนี้ แพรวยังคงต่อสู้เพื่อความฝันของตัวเองอยู่ในแคมป์ทีมชาติ ก่อนจะมีการตัดตัวเหลือ 16 คนสุดท้ายเข้าแข่งขันในทัวร์นาเมนต์ ซึ่งในอนาคตข้างหน้าจะเป็นอย่างไรยังไม่มีใครรู้ เธอจะทำความฝันให้เป็นจริงได้หรือไม่ หรือจะต้องเผชิญกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดอีกครั้ง ยังไม่สามารถตอบได้

แต่สิ่งหนึ่งที่เราได้เห็นจากชีวิตของเธอก็คือ การเป็นนักฟุตซอลหญิงนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะนอกจากจะต้องต่อสู้ในสนามแข่งขันแล้ว พวกเธอยังต้องดิ้นรนกับชีวิตนอกสังเวียนเพื่อที่จะฝ่าฟันไล่ตามความฝันที่หวังไว้อีกด้วย เชื่อว่าหากทุกฝ่ายหันมาให้ความสนใจในวงการฟุตซอลหญิงมากขึ้น โดยขอแค่เพียงมีการจัดแข่งขันอย่างต่อเนื่อง พวกเธอก็จะสามารถพัฒนาฝีเท้าได้ดียิ่งขึ้นอีกแน่นอน

UFABETWIN