UFABETWIN คุยกับ “หญิงไทยคนแรกและคนเดียว” ที่ลุยเดี่ยวไปเป็นผู้กำกับเส้นในเทนนิสวิมเบิลดัน
ชุดขาวล้วน, คอร์ตหญ้า, รายการเก่าแก่ 145 ปี, สตรอว์เบอร์รีส์ แอนด์ ครีม หรือ พีท แซมพราส
คุณนึกถึงอะไรเมื่อพูดถึง เทนนิสวิมเบิลดัน?แต่ไม่ว่าก่อนหน้านี้คุณจะนึกถึงอะไร ขอพาทุกท่านหลุดออกจากคำจำกัดความของทุกสิ่งเหล่านั้น เพื่อจดจำวิมเบิลดันในฐานะการแข่งขันเทนนิสระดับโลกที่มีผู้ตัดสินหญิงไทยผ่านการคัดเลือกสุดหิน ได้รับเลือกเป็นผู้กำกับเส้นมาแล้วถึง 3 ครั้ง ในปี 2019, 2020 (ได้รับเลือกแต่การแข่งขันยกเลิกเพราะโควิด-19) และ 2022
เธอคนนั้นชื่อ “ปู” อรทิพย์ ศรีตะวันหลังทำหน้าที่เป็นผู้กำกับเส้นวิมเบิลดัน 2022 ในการแข่งขันรอบควอลิฟาย และเดินทางกลับมาถึงไทยได้ 3 วัน เรานัด พี่ปู มาที่ (คราฟต์ฟี่ คาเฟ่) คาเฟ่เล็กๆแห่งหนึ่งย่านเมืองทองธานี สาเหตุที่เลือกย่านนี้เพราะพี่ปูเป็นเจ้าถิ่น
แม้พื้นเพจะเป็นคน จ.อุบลราชธานี แต่ครอบครัวย้ายมาตั้งรกรากอยู่ที่กรุงเทพฯ ตั้งแต่พี่ปูยังเด็กๆ ฉะนั้น ทุกตรอกซอกซอยในเมืองทองธานี ไม่มีส่วนไหนที่พี่ปูไม่รู้จัก
“เมื่อก่อนร้านนี้เป็นร้านขึ้นเอ็นเทนนิสนะ พี่มาบ่อย” พี่ปู บอกเราแล้วกวาดสายตามองสำรวจร้าน ก่อนเลือกนั่งโต๊ะที่เป็นโซฟากว้างๆบนชั้นลอย พอเหลือบไปเห็นลูกเทนนิสที่เจ้าของร้านวางตกแต่งอยู่ตรงชั้นหนังสือก็ลุกขึ้นไปหยิบมาเดาะเล่น
ความคุ้นเคยในสถานที่ทำให้พี่ปูไม่ประหม่าในการให้สัมภาษณ์ เธอนั่งลงบนโซฟาตัวยาว วางหมวกสีม่วงซึ่งเป็นหนึ่งในยูนิฟอร์มผู้ตัดสินไว้ข้างๆตัว แล้วเริ่มเล่าเรื่องราวชีวิตของตัวเองให้ฟัง
“พี่อยู่กับเทนนิสมาตั้งแต่ 7 ขวบ จนตอนนี้ 34 แล้วนะ ไม่เคยมีจังหวะชีวิตช่วงไหนของพี่ที่ไม่มีคำว่าเทนนิส”
ผู้เล่น, ผู้ฝึกสอน, ผู้ตัดสิน พี่ปูเป็นมาหมดแล้วทั้ง 3 บทบาท แม้จะเริ่มต้นจับแร็กเก็ตเพราะคุณพ่ออยากให้มีกิจกรรมยามว่าง ประกอบกับบ้านอยู่ใกล้ๆกับสนามของสมาคมเทนนิสฯ ทำให้พี่ปูชื่นชอบกีฬานี้เป็นพิเศษ
แต่เมื่อโตขึ้น พี่ปูก็เป็นฝ่ายเลือกเองว่าจะอยู่กับกีฬาเทนนิสทั้งชีวิต และเลือกว่าจะอยู่ในบทบาทไหนได้ด้วยตัวเอง
“พี่ได้ทุนเรียนมหาวิทยาลัยจากโควตานักกีฬาเทนนิส จากนั้นก็สมัครเป็นครูสอนเทนนิสที่โรงเรียนนานาชาติ ISB สอนๆไปได้สักพัก มันมีช่วงเด็กปิดเทอม เราก็เริ่มอยากหาความท้าทาย ก็เลยเข้าเว็บไซต์ยื่นใบสมัครเป็นผู้กำกับเส้นในรายการต่างๆ”
พี่ปูเริ่มคุยสนุกพร้อมหยิบโทรศัพท์มือถือมาเปิดภาพในเฟซบุ๊กให้เราดูประกอบ เราเห็นภาพการเดินทางรอบโลกบนสายเทนนิสเต็มไปหมด
“พี่เรียนจบเอกภาษาอังกฤษ เราเลยคล่องในเรื่องการอ่านเอกสาร การพูดคุย แต่จริงๆที่พี่เคยเห็น คนไม่ค่อยเก่งภาษาอังกฤษก็ได้ไปทำหน้าที่นี้กันหลายคนนะ อย่างตอนปีแรกที่พี่ไป (2019) มันเป็นปีก่อนโอลิมปิก เกมส์ ที่ญี่ปุ่น เขาเลยคัดคนญี่ปุ่นมาเยอะ ก็มีหลายคนที่พูดภาษาอังกฤษไม่ค่อยได้ แต่ผลงานการตัดสินเขาดีเลยได้รับเลือก”
“พี่เคยยื่นสมัคร ด้วยนะ แต่ตอนนั้นชื่อติดเป็นตัวสำรองเพราะประสบการณ์ยังน้อยอยู่ จากนั้นก็ไปตัดสินที่อินเดีย 2 รายการ แล้วก็ยื่นสมัครของ วิมเบิลดัน ครั้งแรกเมื่อปี 2019 ตอนเขาส่งเมลตอบรับมานะ โอ้โห! ทั้งดีใจ ทั้งตื่นเต้น เราไม่เคยไปอะ ก็มานั่งศึกษากฎกติกา พวกคู่มือที่เขาส่งแนบเมลมา เริ่มหาที่พัก ศึกษาเส้นทาง โชคดีที่พวกเรื่องเอกสารการเดินทาง วีซ่า มีผู้ใหญ่ใจดีที่พี่สาวเราไปขอให้ช่วยสนับสนุนยื่นมือเข้ามาช่วย”
การเดินทางเกือบ 10,000 กิโลเมตร บินข้ามทวีปไปสู่อังกฤษ ในฐานะคนทำงานอิสระ ต้องควักค่าใช้จ่ายพอสมควร แต่ก็มีเวลาเตรียมตัวเกือบครึ่งปี บวกกับการได้สปอนเซอร์มา 3 เจ้า ทำให้ทุกอย่างออกมาสมบูรณ์ พอถึงเวลาลุยเดี่ยว พี่ปูก็ไปอย่างมั่นใจ แม้จะไม่มีเพื่อนหรือใครสักคนที่ล่มหัวจมท้ายไปด้วย
“พี่ไปแบบไม่รู้จักใครเลยจริงๆ แล้วอังกฤษอะเนาะ มันก็แพง ทางฝ่ายจัดเขามีแนะนำที่พักให้เราใกล้ๆกับสนาม คืนละเท่าไหร่รู้ไหม คืนละสองพันกว่า ไม่ไหวล่ะ พี่ต้องไปอยู่ 12 วัน ลองคิดดูรวมเป็นเงินเท่าไหร่ล่ะ ตายพอดี เลยลองหาหอพักรวม ใช้ห้องน้ำรวม ได้มาคืนละ 1,000 นิดๆ นั่นขนาดหอพักรวมแล้วนะ” เอาล่ะสิ .. ฟังมาถึงตรงนี้ คล้ายจะมีเรื่องราวดราม่า แต่เปล่าเลย เพราะแววตาพี่ปูยิ่งฉายแต่ความสุข
“สนุกนะ! ไม่ลำบากเลย อาจเป็นเพราะเราชอบเทนนิสมากด้วยมั้ง เราเลยไม่สนอย่างอื่น””วันแรกที่ไปถึงแล้วไปอบรม พี่ก็เดินเข้าหาทุกคนเลย สวัสดีค่ะฉันชื่อนี้ๆๆๆ มาจากประเทศนี้ๆๆๆนะ เนี่ยฉันใหม่มาก ฉันมาครั้งแรก มีอะไรแนะนำบอกฉันได้เสมอเลยนะ ทุกคนก็ไนซ์มาก อย่างหัวหน้าฝ่ายตัดสินเขาก็ถามว่าพี่ถนัดเส้นไหน? ถ้าเส้นไหนยูไม่ถนัด ยูไม่ต้องเลือกนะ เลือกเส้นที่ยูชอบได้เลย ยูจะได้สนุก”
พี่ปูเล่าต่ออีกว่า ในการเป็นผู้กำกับเส้นบนคอร์ตหญ้ายากกว่าคอร์ตอื่นๆ เพราะอย่างคอร์ตปูนจะได้ยินเสียงลูกตกกระทบกับผิวสัมผัส ซึ่งจะรู้ได้ไม่ยากว่าลูกลงหรือไม่ลง แต่คอร์ตหญ้าเสียงจะเงียบมาก ฉะนั้น ต้องมีสมาธิ ไม่วอกแวก และตัดสินใจให้เด็ดขาด
“บางแมตช์ก็ยากตรงที่ว่า เราเจอนักเทนนิสร่างใหญ่ เราก็ต้องคอยเคลื่อนที่เพื่อให้มองเห็นลูก เราต้องตามลูกให้ทัน เวลายืนเราต้องยืนแบบนี้ สายตาต้องไม่ลอกแลก” พี่ปู ลุกขึ้นยื่นแล้วย่อตัวลงเล็กน้อย เอาสองมือวางไว้ที่หัวเข่าทำท่าจดจ้องไปข้างหน้า เป็นท่วงท่าที่ดูสมาร์ตมากๆ ไม่ต่างจากที่เราเห็นในเกมการแข่งขัน
เมื่อถามว่าอะไรคือสิ่งที่ยากที่สุดในการตัดสินรายการใหญ่ขนาดนี้? แถมบางวันยังต้องยืนตัดสินวันละ 3-4 แมตช์ พี่ปูบอกว่า ไม่มีอะไรยากเลยสำหรับเธอ ทุกอย่างมันสนุกไปหมด อาจจะเป็นเพราะเป็นรอบควอลิฟาย ไม่ใช่เมนดรอว์ด้วย และต่อให้จะขานว่าลูกออกแล้วนักเทนนิสประท้วง แต่ทุกคนก็จะไปประท้วงกับ
แชร์อัมไพร์แบบมีมารยาท ไม่มีใครมากดดันคาดคั้นเอาอะไรจากเธอ พอจบงานแต่ละแมตช์ก็จะได้รับการประเมินเป็นข้อๆส่งทางเมล บางแมตช์ก็ได้คะแนนพิเศษ เมื่อแชร์อัมไพร์เห็นว่าตัดสินใจได้เด็ดขาด กล้าขานในจังหวะที่ก้ำกึ่ง เท่ากับว่าการทำงานโดยรวมไม่มีอุปสรรคแต่อาจจะมีเรื่องเดียว นั่นคือ การเก็บอาการเวลาเจอนักเทนนิสดังๆ
“พี่เคยเดินสวนกับ โรเจอร์ เฟเดอเรอร์ กับ โนวัค ยอโควิช รอบๆสนาม แต่เพราะเราเป็นผู้ตัดสิน จะทำอะไรตามใจชอบไม่ได้ ถ่ายรูปก็อาจจะถ่ายได้นอกเวลางาน แต่ห้ามโพสต์เด็ดขาด พี่ก็เลยได้ถ่ายกับหัวหน้าผู้ตัดสินที่อยู่ในป้ายโฆษณาวิมเบิลดันแทน (ขำ) แต่พี่ชอบเขามากเลยนะ ตื่นเต้นไม่แพ้กับการได้เจอนักเทนนิสระดับโลกเลย”
ส่วนการทำหน้าที่ครั้งที่สองในปี 2022 นี้ พี่ปู ก็ยังลุยเดี่ยวและสนุกกับการหาเพื่อนใหม่ รวมถึง .. สนุกกับการกินสตรอว์เบอร์รีส์ แอนด์ ครีม ของหวานยอดฮิตประจำทัวร์นาเมนต์ด้วย
“5 ถ้วย รู้สึกว่ามีวันนึงจะกินไป 5 ถ้วย อร่อยจริ๊ง แหม พูดแล้วก็อยากกินอีกเลย” เราอดขำตามที่พี่ปูพูดไม่ได้ แต่ก็เชื่อว่ารสชาติของขนมหวานในสนามออลอิงแลนด์มันหอมหวานชวนสดชื่นอย่างที่ปูว่าจริงๆ
เพราะตลอดชั่วโมงกว่าๆที่คุยกัน ไม่มีเรื่องไหนที่พี่ปูไม่ประทับใจ ไม่มีเรื่องไหนที่พี่ปูมองว่าเป็นอุปสรรค มันเต็มไปด้วยความสุขที่ก่อเกิดจากคำว่า รัก ในกีฬาเทนนิสเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
“พี่ไม่เคยคิดจะทำอย่างอื่นเลย เรามีความสุขกับเทนนิสมากๆไม่ว่าจะในบทบาทไหนก็ตาม พี่อยากจะขอบคุณผู้ใหญ่ใจดีทุกคนที่สนับสนุนพี่ ถ้าพี่ไม่ได้รับการสนับสนุนเหล่านั้น พี่จะไม่ได้ไปถึงอังกฤษเลย รวมถึงคงไม่มีความกล้าที่จะยื่นสมัครรายการระดับโลกอื่นๆด้วย”
ค่าเหนื่อยที่พี่ปูได้รับในการตัดสินรอบควอลิฟายตลอดทั้ง 10 วันตกวันละ 125 ปอนด์ หรือราวๆ 5,400 บาท ยังไม่นับรวมเงินโบนัสเดอะเบสต์ช็อต หรือจังหวะที่แชร์อัมไพร์มองว่าตัดสินได้ยอดเยี่ยม และต่อให้ใครจะพิจารณาว่ามันมากหรือน้อยยังไง พี่ปูกลับไม่ได้สนใจตรงนั้น
เพราะสิ่งที่ผู้กำกับเส้นหญิงคนนี้คำนวณออกมาได้ ไม่ใช่ตัวเลขเม็ดเงิน มันเป็นปริมาณของความสุขที่ประเมินค่าไม่ได้ต่างหาก